วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทางเลือกใหม่ของหลอด LED


บทความ : LED รุ่นใหม่ ปฏิวัติหลอดไฟทั้งโลก
นับตั้งแต่โธมัส อัลวา เอดิสัน ประดิษฐ์หลอดไฟมา โลกในยามราตรีก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง แต่การคิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันอาจจะเปิดยุคใหม่แห่งวงการแสงสว่างอีกครั้ง นั่นคือ LED รุ่นใหม่นี้


ศาสตราจารย์คอลิน ฮัมฟรี่ย์ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัสดุจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษเชื่อว่าหลอด LED ที่เขาคิดได้นี้จะทำให้หลอดไฟตามที่พักอาศัยและอาคารสำนักงานมีการปฏิวัติเกิดขึ้นทั่วโลกเลยทีเดียวภายในเวลา 5 ปีข้างหน้านี้

วัสดุมหัศจรรย์ที่ ศ.ฮัมฟรีย์ ใช้ในการประดิษฐ์ครั้งนี้คือแกลเลียมไนไตรด์ (GaN)  ซึ่งอันที่จริงมีการนำมาใช้แล้วในงานด้านแสงต่างๆเช่น เป็นแสงแฟลชถ่ายรูป, ไฟหน้ารถจักรยาน, โทรศัพท์มือถือ, หลอดไฟในรถบัส รถไฟ และเครื่องบิน

แต่ความมหัศจรรย์ที่ว่านี้คือ ศ.ฮัมฟรีย์สามารถนำแกลเลียมไนไตรด์ที่ว่านี้มาใช้ให้แสงสว่างในอาคารสำนักงานและที่พักอาศัยได้ ซึ่งหากทำสำเร็จก็จะสามารถลดปริมาณการบริโภคไฟฟ้าในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว อีกทั้งยังลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าได้อีก และยังช่วยอนุรักษ์ปริมาณเชื้อเพลิงฟอสซิลได้โดยอ้อมอีกด้วย

"อนาคตของ LED แกลเลียมไนไตรด์นี้น่าตื่นเต้นมากเลยนะ" ศ.ฮัมฟรีย์บอก

"ยิ่งไปกว่านั้ ยังมีอายุการใช้งานยาวนานด้วย LED แกลเลียมไนไตรด์สามารถเผาไหม้ได้ถึง 100,000 ชั่วโมง คิดเป็นราวๆ 100 เท่าของหลอดที่ใช้กันในปัจจุบันเลยนะ นี่แหละที่จะเข้ามาแทนที่หลอดไฟที่ใช้กันตามบ้านมากว่า 60 ปีแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ซะอีก LED แกลเลียมไนไตรด์นี้ไม่มีสารปรอทเลยนะ ฉะนั้นก็ไม่ต้องมาปวดหัวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป"


แต่อุปสรรคสำคัญในงานชิ้นนี้คือ LED แกลเลียมไนไตรด์นี้มีาคาสูงเกินไปที่จะผลิตเพื่อใช้งานตามบ้านและที่ทำงาน และความเข้มของแสงที่ผลิตออกมานี้ทำให้ต้องหาทางลดลงมาอีก ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์จึงได้ค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้โดยมี ศ.ฮัมฟรีย์เป็นแกนนำ จนกระทั่งได้ทฤษฎีใหม่ที่สามารถไขความลับที่ว่าทำไมแกลเกียมไนไตรด์ถึงได้ส่องแสงออกมามากผิดธรรมชาติเช่นนั้น โดยการค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือกับศาสตราจารย์ฟิล ดอว์สัน แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์

"การเข้าใจทฤษฎีว่าด้วยแกลเลียมไนไตรด์นี้เป็นสิ่งสำคัญมากต่อการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพการให้แสงสว่างของแกลเลียมไนไตรด์" ศ.ฮัมฟรีย์กล่าวต่อ

"ศูนย์วิจัยของเรายังทำหน้าที่ในส่วนของการคิดค้นนวัตกรรมเทคนิคการสร้างแกลเลียมไนไตรด์บนแผ่นซิลิกอนเวเฟอร์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้วได้ แทนที่จะใช้เวเฟอร์บุษราคัมที่ใช้กันก่อนหน้านี้ ซึ่งจะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตได้เยอะเลย และก็จะช่วยให้แกลเลียมไนไตรด์นี้ตีตลาดกระจุยเลย"

นอกจากนั้น ศูนย์วิจัยดังกล่าวยังพยายามคิดค้นวิธีการใช้แสงแกลเลียมไนไตรด์นี้เลียนแบบแสงอาทิตย์ เพื่อช่วยรักษาผู้ป่วยโรค SAD (Seasonal Affective Disorder) หรือโรคผิดปกติตามฤดูกาลได้

"แสงแกลเลียมไนไตรด์นี้จะเริ่มมีการใช้งานในที่พักอาศัยและอาคารสำนักงานภายในระยะเวลา 5 ปี นี่ไม่ใช่แค่ข่าวดีสำหรับสิ่งแวดล้อมเท่านั้นนะ แต่ยังเป็นข่าวดีสหรับผู้บริโภคที่ชอบความสะดวกสบาย ไม่ต้องการจ่ายค่าไฟแพงๆ และต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย" ศ.ฮัมฟรีย์บอก

ค่อนข้างเป็นไปได้ทีเดียวที่แสงจากแกลเลียมไนไตรด์นี้จะถูกนำไปใช้งานได้หลากหลาย โดยในตอนนี้ LED แกลเลียมไนไตรดที่หุ้มด้วยฟอสฟอรัสก็สามารถเปลี่ยนจากแสงสีน้ำเงินเป็นแสงสีขาวได้แล้ว แต่เป้าหมายของทีมวิจัยคือพยายามจะไม่ให้มีการหุ้มด้วยฟอสฟอรัสดังกล่าวและก็พยายามทำให้ LED นี้มีขนาดเล็กลงเป็น mini LED และต้องสามารถผลิตแสงได้หลายสีเช่นเดียวกับหลอดไฟทั่วๆไปอีกด้วย



ศ.ฮัมฟรีย์จึงได้ให้ความเห็นตรงจุดนี้ว่า "ถ้าจะนำไปใช้งานในเรื่องนี้หรือในงานอื่นอย่างเช่นใช้ดูแลสุขภาพ, ตรวจเนื้องอก, วอเตอร์ทรีทเมนต์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา คงจะต้องใช้เวลาซัก 10 ปีถึงจะประสบผลสำเร็จนะ"

1 ความคิดเห็น:

ซึ่งหลอดไฟ LED สามารถนำมาใช้กับระบบ Solar cell โดยไม่ต้องมีการแปลงไฟ
ซึ่งโดยปกติ LED ที่ใช้กันกับไฟ 220V จะมี DRiver สำหรับแปลงไฟเป็น DC ซึ่งวงจะต้องเล็กเพื่อเซฟ
พื้นที่มาก ทำให้วงจรร้อน และตัว Driver เสียไว ซึ่งเป็นปัญหา Led สำหรับไฟ 220v
อายุการใช้งาน 50,000 ชั่วโมง ซึ่งถ้า Driver ตัวนี้เต็มที่น่าจะทนความร้อนได้ประมาณแค่2-3 ปี
ก่อให้เกิดโลหะหนัก กลายเป็นมลภาวะยิ่งกว่าปรอทซะอีก และวงจรเล็ก
ซึ่งมีอันตรายมากอาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย
แต่ถ้านำมาใช้กับระบบ Solarcell ที่ผลิตเป็นไฟ DC ออกมา ซึ่งไฟDC แค่ประมาณ 5-12 V ซึ่งไม่สามารถดูด
คนตายได้ ไม่เชื่อลองนำถ่ายไฟฉาย 4ก้อนมาจับดู จึงปลอดภัยกว่า และเหมาะกับการใช้งานมากกว่า

แสดงความคิดเห็น